ความแตกต่างระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้


โลกของเราทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันอย่างยากที่จะคาดเดาได้ ที่สำคัญยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมทาง
สังคมมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ถือเป็นตัวการสำคัญ ซึ่งส่งผลให้ในแต่ละวันมีการผลิตข้อมูลขึ้นมาจำนวน
มหาศาล แม้ว่าคล้ายจะเป็นผลดี แต่แท้จริงกลับก่อปัญหาที่สำคัญ อันเนื่องมาจากคนเราไม่สามารถนำข้อมูลจำนวนมากเหล่านั้นมาทำให้
เกิดประโยชน์แก่องค์การของตน อีกทั้งยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ได้นั่นเอง



ตารางจำแนกความแตกต่างระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
ความหมาย
ตัวอย่าง
ข้อมูล (Data)
ใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุ เหตุการณ์ หรือกิจกรรม โดยบันทึกได้
จากการสังเกต การทดลอง และการสำรวจ ด้วยการแทนรูปแบบใดรูป
แบบหนึ่งอย่างการบันทึกเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ และสัญลักษณ์
♦ เกรดที่นักเรียนได้รับในแต่ละวิชา
♦ ราคาสินค้าในห้างสรรพสินค้า
♦ รูปภาพและข้อความต่างๆ ที่ปรากฏ
ในเว็บไซต์
สารสนเทศ (Information)
เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ในการนำไปใช้งานมากขึ้น เช่น ส่วนสูงของนักเรียนหญิง
และนักเรียนชายแต่ละคนในชั้นเรียนถือเป็น ข้อมูล ที่สามารถนำมา
ใช้สร้างสารสนเทศได้หลายรูปแบบสำหรับนำไปใช้ในจุดประสงค์ที่
แตกต่างกัน
♦ การนำข้อมูลมาเรียงตามลำดับจาก
มากไปน้อย
♦ การหาค่าเฉลี่ยส่วนสูงของนักเรียน
ความรู้ (Knowledge)
มีความหมายกว้างและใช้กันโดยทั่วไป ความรู้ประกอบด้วยข้อมูลและ
สารสนเทศ ที่ถูกจัดรูปแบบและประมวลผล สำหรับนำไปประยุกต์ใช้
ในปัญหาที่ต้องการนำข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ไปแก้ไข
♦ นักเรียนที่ออกกำลังกายทุกวัน และ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่เป็น
ประจำ จะมีส่วนสูงมากกว่านักเรียนที่
ออกกำลังกายแบบวันเว้นวัน แต่ไม่ได้
รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์เป็น
ประจำ
♦ นักเรียนที่ออกกำลังกายน้อยมาก อีก
ทั้งยังไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เป็นประจำ จะมีส่วนสูงน้อยที่สุดในห้อง



ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ในปัจจุบัน

หลายๆ หน่วยงานเมื่อมีการประชุมกรรมการข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาในการประชุมล้วนเป็นข้อมูลทั้งสิ้น พูดง่ายๆ คือเอาตัวเลข
มาประชุม มีสารสนเทศ อยู่น้อยมากหรือแทบไม่มีเลยด้วยซ้ำ แต่ที่เลวร้ายกว่านั้นคือการพัฒนาสารสนเทศของหน่วยงานในหลายๆ
แห่ง กลับให้ความสนใจแต่เทคโนโลยี (Information Technology) ลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในสำนักงาน ขณะที่ระบบ
สารสนเทศ (Information System)
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกว่ากลับถูกละเลย ดังนั้นทางแก้ที่ดี เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจสารสนเทศ
ให้มากขึ้น มิฉะนั้นแล้วเราอาจตกเป็นทาสของเทคโนโลยีจนไม่สามารถถอนตัวได้ ทางออกอยู่ที่การวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์
สภาพปัญหาขององค์กร เพื่อที่จะมองเห็นภาพในมุมกว้างขององค์กร ที่สำคัญให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ
หน่วยงานราชการ ที่สำคัญสารสนเทศที่พัฒนานั้น จะต้องเป็นสารสนเทศที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ไม่เป็นสารสนเทศที่ผู้
บริหารได้ประโยชน์เสียเอง ส่วนด้านการลงทุนควรให้ความสำคัญกับการลงทุนที่บุคคล เป็นหลัก ให้คนของหน่วยงานไปอบรมเพื่อ
เพิ่มความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับสารสนเทศให้มากขึ้น จัดเวทีการประชุมด้านสารสนเทศอย่างเปิดกว้าง และมีการนำเสนอผลงาน
การพัฒนาสารสนเทศขององค์กรอย่างต่อเนื่อง


ความรู้มีความสำคัญมาก แต่กลับถูกละเลย !

การจัดการกับสารสนเทศที่มีอยู่ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้ (Knowledge) เข้ามาช่วย
จัดการ ดังนั้นเราจึงต้องควานหาความรู้มาให้จงได้ ในหลายๆ หน่วยงานใช้วิธีการจ้างบุคคลภายนอกเข้ามาให้ความรู้ พอนานๆ
เข้าไม่มีงบประมาณก็เลิกจ้าง การพัฒนาจึงไม่ต่อเนื่อง แต่สิ่งที่องค์กรมองข้ามและไม่เคยทำก็คือการดึงเอาความรู้ที่มีอยู่ในตัว
บุคลากรภายในองค์กรเองออกมาใช้ เพราะ เรื่องบางเรื่องคนในองค์กรสามารถพัฒนา หรือเป็นวิทยากรเองได้ จากตรงนี้ส่งผล
ให้คนในองค์การขาดกำลังใจเนื่องจากองค์การไม่เห็นความสำคัญ จนทำให้เกิดสภาวการณ์ สมองไหล โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี
ที่เราทำงาน เราจะเกิดความรู้ใหม่ขึ้นตลอดเวลา คำถามมีอยู่ว่า ความรู้ที่แต่ละคนในองค์กรได้รับนั้นหายไปไหน เหตุใดทุกครั้ง
ที่เกิดปัญหาเดิมๆ จะต้องประชุมและระดมสมองกันใหม่เสมอและคำตอบคือถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การจัดเก็บรวบรวม การประมวลผล ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบ
การนำเสนอการใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน นี่แหละคือเรื่องของการจัดการความรู้ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน




อ้างอิง: ภก. ประชาสรรณ์ แสนภักดี M.P.H. CMU

: http://www.thaigoodview.com